เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 4. เจโตขีลสูตร
5. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตน
ใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนา
เป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ 5 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อ
ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่บุคคลนั้นตัดขาดแล้ว
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์(ข้างขึ้น)
ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วย
แสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ฉันนั้น
เจโตขีลสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :27 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 5. อัปปมาทสูตร
5. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม
[15] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้า
มากก็ตาม มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมด รวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง
ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
กลอนของเรือนยอดทั้งหมด ทอดไปถึงยอด รวมลงที่ยอด ยอดเรือน ชาวโลก
กล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้นทั้งหมด ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิต
กล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิ ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นที่เกิดแต่ดอกเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งหมด ย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :28 }